The Analysis of Lyrics and Melodies of Sarapanya Sermon in I-San Dialed นายบุญจันทร์ เพชรเมืองเลย Boonjan Jomsriparsert ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Boonjan.jom@neu.ac.th บทคัดย่อ การศึกษาการวิเคราะห์บทร้องและทำนองสรภัญญ์อีสาน มุ่งศึกษาการวิเคราะห์สรภัญญ์อีสานโดยเน้นศึกษา ฉันทลักษณ์ และสังคีตลักษณ์ของสรภัญญ์อีสาน ในการดำเนินการวิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยได้ สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากครูผู้ประพันธ์สรภัญญ์ ผู้ขับร้องสรภัญญ์ และเนื้อหาของกลอนสรภัญญ์ โดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ในด้านชีวประวัติของครูผู้ประพันธ์กลอนสรภัญญ์และผู้ขับร้องสรภัญญ์นั้นมีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ ครูผู้ประพันธ์สรภัญญ์ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นพระสงฆ์จำวัด และมีความชอบในเสียงของการขับสรภัญญ์จึงได้ประพันธ์กลอน สรภัญญ์ขึ้นเพื่อให้ศีกาจำศีลได้ขับร้อง ในงานบุญเข้าพรรษา และบุญออกพรรษา เป็นต้น ส่วนผู้ขับร้องสรภัญญ์ที่เป็นต้นเสียงนั้นเป็นศีกาจำศีล ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะได้เป็นผู้ประพันธ์กลอนสรภัญญ์ ประการแรกที่ผู้ขับร้องสรภัญญ์ได้ประพันธ์กลอนสรภัญญ์ขึ้นเองสาเหตุมาจากความต้องการกลอนสรภัญญ์ ที่จะนำใช้ในการขับร้องตรงตามความต้องการของกิจกรรมของคณะสรภัญญ์ และประการที่สอง คือ ขาดคนประพันธ์กลอนสรภัญญ์ ในด้านบทร้องของสรภัญญ์มักมีสาระเกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งพุทธประวัติ พระโพธิสัตว์ ทั้งข้อพระธรรมและปริยติ ต่าง ๆ เป็นสำคัญ มีการทักทายโอพาปราศรัยระหว่างผู้ขับร้องกับผู้ฟังสอดแทรก ส่วนฉันทลักษณ์ของสรภัญญ์อีสานมักมีลักษณะคำประพันธ์ประเภทกาพย์ คือ ส่งสัมผัสระหว่างวรรคต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งจบเพลงการใช้วรรณยุกต์ต้องกลมกลืนกับลักษณะการเคลื่อนไหวทำนองเป็นสำคัญ ในด้านทำนอง พบว่า สังคีตลักษณ์ของสรภัญญ์เป็น โมตีฟ (หน่อยย่อยเอก) แบบสั้น ๆ ขยายโมตีฟเป็นวลีที่มีความยาวไม่เกิน 2 ห้อง ในอัตราจังหวะ 2 หรืออัตราจังหวะ 4 ทำนองเดินขึ้น เดินลง อยู่ในช่วงแคบ ๆ ของมาตราเสียงเพนตาโทนิค ซึ่งช่วงทบ 1 มี 5 เสียง คือ โด เร มี โซ ลา และลงจุดพักเพลงที่เสียงลา เป็นส่วนใหญ่ที่ให้เกิดอารมณ์ไปในทางเศร้าและผ่อนคลาย เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการขับสรภัญญ์ ซึ่งต้องให้ความสงบเย็น คำสำคัญ :การสวดสรภัญญ์, สังคีตลักษณ์, ทำนอง, บทร้อง |
ประกันคุณภาพ > บทความวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม >