การศึกษาวิจัยและประดิษฐ์ซอที่มีเสียงคอร์ดในตัว:สำเร็จ คำโมง : 2556

โพสต์9 มิ.ย. 2558 01:30โดยไม่ทราบผู้ใช้   [ อัปเดต 17 มิ.ย. 2558 01:23 ]
การศึกษาวิจัยและประดิษฐ์ซอที่มีเสียงคอร์ดในตัว
THE STUDY,RESEARCH AND INVENTION OF 
THE FIDDLE  WITHCHORDAL SOUNDS

รองศาสตราจารย์สำเร็จ คำโมง
Professor(associate)SamretCommong
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โทรศัพท์มือถือ 0 – 821208108
E mail : composer – samret @ hotmail.co.th

บทคัดย่อ
            การศึกษาวิจัยและประดิษฐ์เครื่องดนตรีประเภทซอที่มีเสียงคอร์ดในตัวนี้มี วัตถุประสงค์ที่จะสร้างสรรค์เครื่องดนตรีแห่งชาติพันธุ์ไทยลาวเพิ่มขึ้นอีก ชนิดหนึ่งให้มีระบบเสียงประสานแบบคอร์ดในตัวเพื่อใช้ประสมวงดนตรีพื้นบ้าน ไทยลาวแล้วช่วยแก้ปัญหาการขาดแนวเสียงประสานแบบคอร์ดของวงแบบดั้งเดิมที่ นิยมบรรเลงแบบแนวเดียว
             ผลการศึกษาวิจัยและประดิษฐ์พบว่าการใช้ซุงไม้ขนุนเป็นวัสดุทำเต้าเสียงซอทำ ให้ซอมีกังวานเสียงที่นุ่มนวล ระบบเสียงซอที่จะทำได้ทั้งทำนองและเสียงคอร์ดไปพร้อมกัน ซอนั้นต้องมี 4 สาย สายที่ 4 เป็นเสียงต่ำสุดใช้เป็นเสียงโน้ตพื้นต้นหรือโน้ตฐานราก(Root)ของคอร์ด สายที่ 3 เป็นเสียงคู่ 3 ไมเนอร์(minor third)กับสายที่ 4 สายที่ 2 เป็นเสียงคู่ 5 เพอร์เฟ็กต์(Perfect fifth)กับสายที่ 4 ส่วนสายที่ 4 ใช้บรรเลงทำนองเพลงและตั้งเสียงให้เป็นเสียงคู่ 8 (Octave) กับสายที่ 4 เมื่อสีสายเปล่าทั้งสี่สานพร้อมกันจะทำให้เกิดเสียงคอร์ดไมเนอร์(minor chord) ที่สามารถแปลงเป็นเสียงคอร์ดเมเจอร์ (Major chord) ได้ด้วยการลงนิ้วกลางของมือซ้ายบนสายที่ 3 ตรงตำแหน่งที่สูงกว่าเดิม 1 ขั้น
คำสำคัญ, ซอ, เสียงคอร์ด ,โน้ตพื้นต้น ,คอร์ดไมเนอร์, คอร์ดเมเจอร
Comments