บทความวัฒนธรรม

ประกาศล่าสุด

  • เที่ยวเวียดนามดูวัฒนธรรม โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย เที่ยวเวียดนามดูวัฒนธรรมโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย         การเดินทางไปเห็นด้วยตาตัวเองจะทำให้เราได้จดจำสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดีสามารถนำมาถ่ายทอดให้ผู้ที่ไม่ได้ไปพบเห็นฟังได้อย่างตื่นตาตื่นใจ เพราะมันเต็มไปด้วยประสบการณ์อันน่าสนใจ โดยเฉพาะการไปเที่ยวดูวัฒนธรรมเวียดนามในครั้งนี้ผู้เขียนก็ได้เก็บภาพบรรยากาศต่าง ๆระหว่างการเดินทางมาให้ชมกันครับยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะภาพที่ถ่ายมาเยอะมากจนไม่สามารถที่จะเอาลงได้หมดครับ โปรดติดตามตอนต่อไป
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:56 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
  • ตลาดสด : หลวงพระบาง โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย ตลาดสด : หลวงพระบางโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย          ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาวัฒนธรรมที่เมืองหลวงพระบาง และสะดุดตาตลาดสด ที่คล้ายกับบ้านเราโดยเฉพาะภาคอีสาน ทำให้คิดว่าเหมือนว่าเรามาจ่ายตลาดสดตอนเย็นที่บ้านเราอย่างไรไม่รู้ ผู้เขียนจึงเก็บภาพประทับใจมาให้ผู้อ่านได้เห็นภาพไปตามๆกัน ครับ         มีอาหารที่ใส่ถุงเรียบร้อยแล้ว และพริกแกงผลไม้ก็มีกล้วยหอม กล้วยน้ำหว้า สัปรด มีเปลือกไม้สมุนไพร ทั้งของบูชาพระ มีลาบเทา หรือลาบสาหร่ายอีสาน บอกเลยว่า แซบอีหลีเด้อความงามของตลาดสดอยู่ที่ความเหมือนเดิมไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:55 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
  • วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน เรียบเรียงโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรียบเรียงโดย บุญจันทร์  เพชรเมืองเลย         วรรณกรรม เป็นคำกลาง ๆ ที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบันนี้ เพื่อเรียกหนังสือทุกประเภทที่เป็นที่เข้าใจกันโดยปริยายว่ายังไม่ได้รับการรับรองหรือยกย่องว่าดีเด่นถึงขึ้นเป็นวรรณคดี คำว่า วรรณกรรม จึงมีความหมายตรงกับคำว่า วรรณคดีในความหมายอย่างกว้างนั่นเอง คำนี้ปรากฏใช้เป็นครั้งแรก ในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ. 2475 (รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์, 2526)          วรรณกรรม หมายถึง งานเขียนทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เช่น บทความ   สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น เรียงความ บทภาพยนตร์ (พจนานุกรรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน,  2525)          วรรณกรรม หมายถึง งานเข ...
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:54 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
  • ภาษาถิ่นอีสาน :อักษรธรรม และอักษรไทยน้อย เรียบเรียงโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย ภาษาถิ่นอีสาน :อักษรธรรม และอักษรไทยน้อยเรียบเรียงโดย บุญจันทร์  เพชรเมืองเลย  1. อักษรธรรมอีสาน         อักษรธรรมอีสานพัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ นิยมใช้บันทึกเรื่องราวทางศาสนา เช่น พระไตรปิฎก พระธรรมคัมภีร์ต่างๆ เป็นต้น ในประเทศไทยพบที่จารึกวัดสุวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย ลงศักราชตรงกับ พ.ศ. 2106  และที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่พบบริเวณเมืองหลวงพระบาง ลงศักราช ตรงกับ จ.ศ.889 หรือ พ.ศ. 2070ตัวอย่างอักษรธรรมเรื่อง  นางอั้วผูกคอตายใต้ง่าจวงจัน 2. อักษรไทยน้อย         เป็นอักษรที่ใช้บันทึกเรื่องราวทางโลก เช่น เกี่ยวกับคดีโลกโดยเฉพาะกฎหมาย พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ หรือวรรณกรรมนิทานพ ...
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:54 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
  • อัตลักษณ์ของลำกลอนทำนองขอนแก่น โดยบุญจันทร์ เพชรเมืองเลย อัตลักษณ์ของลำกลอนทำนองขอนแก่นThe Identity of Mawlum Songs as Sung and Compoled in Khon Kaen บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยศ.สำเร็จ  คำโมงบทคัดย่อ         การศึกษาอัตลักษณ์ของลำกลอนทำนองขอนแก่น มุ่งศึกษาอัตลักษณ์ที่ได้จากกลอนลำของครูผู้ประพันธ์กลอนลำ และครูหมอลำกลอนโดยเน้นศึกษา ฉันทลักษณ์ของกลอนลำ และสังคีตลักษณ์ของทำนองลำ ในการดำเนินการวิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยได้สัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากครูผู้ประพันธ์กลอนลำ ครูหมอลำกลอน  และเนื้อหาของกลอนกลอนลำโดยการพรรณนาผลการวิจัยพบว่า         ในด้านชีวประวัติครูผู้ประพันธ์กลอนลำ และครูหมอลำกลอน พบว่า มีชีวิตคล้ายคลึงกันค ...
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:52 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
  • นางอัปสรา : นาฏยลักษณ์จากภาพศิลาจำหลักประติมากรรมจามโบราณ โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย นางอัปสรา :  นาฏยลักษณ์จากภาพศิลาจำหลักประติมากรรมจามโบราณ บุญจันทร์  เพชรเมืองเลย           อาณาจักรจามปาโบราณตั้งอยู่บริเวณตอนกลางชายฝั่งทะเลของประเทศเวียดนามปัจจุบันในประวัติศาสตร์จามปานับตั้งแต่บทบาทของศิลปวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามารวมพุทธศตวรรษที่10-11จามปาต้องทำสงครามกับเขมรทางตะวันตกและเวียดนามทางเหนือตลอดในที่สุดจามปาก็ถูกกลืนโดยชนชาติที่มีวัฒนธรรมแบบจีนและ เวียดนาม จึงทำให้ศิลปะจามปาจึงมีลักษณะคล้ายทางอินเดียและสายจีนมาก ที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ประติมากรรมในงานสถาปัตยกรรม อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นที่สุดของจามปา คือ ศิลปะด้านประติมากรรม นั่นเอง (สุรสวัสดิ์  ศุขสวัสดิ์,  2543)          ประติมากรรมของจามนั้นมีอยู่หลากหลายชนิด แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ของประติมากรรมจาม ที่มีแนวการสร้างที่ไม่ม ...
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:51 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
  • หลวงพระบางเมืองมรดกโลก: ช้างสัญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์สู่สินค้าหัตถกรรม โดยบุญจันทร์ เพชรเมืองเลย หลวงพระบางเมืองมรดกโลก: ช้างสัญลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์สู่สินค้าหัตถกรรม บุญจันทร์  เพชรเมืองเลย อาณาจักรล้านช้าง           ในตำนานของขุนบรมมีคำว่าช้างปรากฏตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือประมาณปี พ.ศ.2063 และต่อมาก็ได้พบกับคำว่า ล้านช้าง ตามพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เช่น ฉบับแรก พบปรากฏอยู่กับศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา ประมาณ พ.ศ. 2016 จารึกด้วยอักษรธรรมปรากฏคำว่า ศรีสัตนาคนหุตมหานครราชธานี คำว่า สตะนาคนะหุต แปลว่า ร้อย นาคะแปลว่าช้าง และนะหุตแปลว่า หมื่น เมื่อรวมกันแล้วจะได้คำว่า ช้างล้านตัว หรือล้านช้าง (ปิยฉัตร์ สินธุสะอาด,  2540)          อาณาจักรล้าน ในยุคหนึ่งได ...
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:49 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
  • สุนทรียรสในวรรณกรรมสินไซที่ปรากฏในฮูปแต้มอีสาน โดยบุญจันทร์ เพชรเมืองเลย สุนทรียรสในวรรณกรรมสินไซที่ปรากฏในฮูปแต้มอีสาน บุญจันทร์  เพชรเมืองเลย บทนำ          ภาคอีสานประกอบด้วย 20 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมด 170,218 ตารางกิโลเมตร 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย ภูมิประเทศของอีสานแบ่งเป็น 2 แห่ง คือ แอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี  แม่น้ำมูล อาชีพหลัก  คือ เกษตรกรรม (สุวิทย์  ธีรศาสวัต,  2557) ในด้านวัฒนธรรมของภาคอีสานนั้น ชาวอีสานจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง คือ มีภาษาพูด และภาษาเขียน (ตัวอักษรไทยน้อย และอักษรธรรม) เป็นของตนเอง (สำลี รักสุทธี,  2553) รวมถึงมีวรรณกรรมเป็นของตนเอง  อีกด้วย ซ ...
    ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:48 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
แสดงบทความ 1 - 8 จาก 8 รายการ ดูเพิ่มเติม »


Comments