เห็นต่างวัฒนธรรม
-
ความเป็นมาของหมอลำ: ข้อสันนิฐานของการเกิดหมอลำในยุคปัจจุบัน โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
ความเป็นมาของหมอลำ: ข้อสันนิฐานของการเกิดหมอลำในยุคปัจจุบันโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย ภาพถ่ายโดยผู้เขียนประตูทางเข้าประเทศเวียดนามภาพลายเส้นบนเครื่องมือสำริดจากเวียดนามเป็นรูปคนเป่าแคนและฟ้อน(สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2543). เบิ่ง สังคมและวัฒนธรรมอีสาน.) ลายเส้นบนเครื่องมือสำริดจากเวียดนามเป็นรูปคนเป่าแคนและฟ้อน แสดงให้เห็นว่า คนอีสานยุคเริ่มแรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้วรู้จักการเป่า ปี่อ้อ, เป่าแคน, ตีกลองไม้, ตีกลองทอง (มโหระทึก), ตีเกราะเคาะกระบอกไม้ไผ่, และมีเครื่องมือสำริดรูปร่างคล้ายกระดึงพบที่บ้านเชียง, ภาพเขียนสีที่เขาจันทร์งาม จังหวัดนครราชสีมา ทำให้รู้ว่ามีพิธีฟ้อนเต้นอย่างง่าย ...
ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:33 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
-
ลิขสิทธิ์เพลง: หมอลำซิ่งเป็นยุคสุดท้ายของหมอลำอีสานจริงหรือ โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
ลิขสิทธิ์เพลง: หมอลำซิ่งเป็นยุคสุดท้ายของหมอลำอีสานจริงหรือโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย เพลงลูกทุ่งหมอลำถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมประเภทร้อยกรองที่ใช้สำนวนโวหารที่สละสลวยอีกประเภทหนึ่ง โดยผสมผสานเข้ากับศิลปะทางดนตรีได้อย่างกลมกลืนในด้านการเรียบเรียงเนื้อหา ซึ่งเพลงได้สืบทอดมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างลึกซึ้งและกินใจ (บุญเกิด มาดหมาย, 2550) เพลงลูกทุ่งได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพลงลูกทุ่งหมอลำได้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับคนสู้ชีวิต และสาวโรงงาน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากผู้คนทั่วทั้งประเทศ และในปี พ.ศ.2556 วงการศิลปะการแสดงของอีสานต้องสั่นคอนจิตใจอย่างหนัก เพราะมรดกภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษอีสานได้สร้างสรรค์สั่งสมไว้กำลังใกล ...
ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:31 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
-
การประพันธ์กลอนลำ หมอลำเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2543 จังหวัดขอนแก่น โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
การประพันธ์กลอนลำ หมอลำเคน ดาเหลา ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2543 จังหวัดขอนแก่นโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย ผู้เขียนได้เคยมีโอกาสไปสัมภาษณ์ศิลปินแห่งชาติสาขาการแสดงพื้นบ้านหมอลำ พ่อครูเคน ดาเหลา เกี่ยวกับ หลักของการแต่งกลอนลำและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย (หมอลำกลอน) ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ซึ่งข้อมูลนี้มีประโยชน์อย่างมาก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้ (เคน ดาเหลา, 2554, กรกฎาคม.) 1. ด้านประสบการณ์ของการแต่งกลอนลำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.1 ผู้ที่จะมาแต่งกลอนลำได้นั้นในสมัยก่อนจะเป็นกลุ่มของนักบวชที่สนใจการลำหมอลำรุ่นเก่า กลุ่มคนเหล่านี้จะแต่งกลอนลำได้เป็นอย่างด ...
ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:29 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
-
ฮีตสิบสองอีสาน โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
ฮีตสิบสองอีสานโดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย ในปัจจุบันประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นยังคงยึดถือปฏิบัติประเพณี ๑๒ เดือน หรือที่เรียกกันในภาษาอีสานว่า “ฮีต ๑๒” กันอยู่ ซึ่งได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณเป็น จารีต ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ที่สั่งสมกันมาต่อเนื่องอย่างยาวนาน และในแต่ละครั้งเมื่อถึงประเพณี ๑๒ เดือน ก็ได้มีการรำแบบพื้นเมืองอีสาน เพื่อถวายแก่ “ผีฟ้า ผีแถน” ซึ่งชาวอีสานเคารพนับถือว่าเป็นเทวดาเพื่อมาดับทุกข์เข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวง และสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ ดังตัวอย่างกลอนลำประกอบภาพดังต่อไปนี้ผู้ประพันธ์ บุญจ ...
ส่ง 6 ก.ค. 2559 20:28 โดย ไม่ทราบผู้ใช้
|
|