เพลง ฟ้อนฮีตสิบสอง : บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

โพสต์11 มิ.ย. 2558 08:53โดยไม่ทราบผู้ใช้   [ อัปเดต 17 มิ.ย. 2558 00:59 ]

 เพลง ฟ้อนฮีตสิบสอง  คำร้อง/ทำนอง อ.บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย พ.. 2554

(กลอนขึ้น)

ล่ะฮีตสิบสอง โบราณเว้า   ชาวอีสานบ้านเฮา ยังสืบทอด คงคุณค่า        

ล่ะตั้งแต่ปู่สังกะสา ตั้งแต่ย่าสังกะสี เพิ่นพาถือแต่เก่าพุ้น บ่มีเสี้ยงแม่นลึปสูญ
ประเพณีบ่ขาดดุ้น
                               เฮายังนับถือกัน  สิบสองเดือนบ่แปรผัน

ฮีตสิบสองเอ้อเอ่อ ..เออ    นอคองเค้า...
(ทำนองเพลงลูกทุ่งอีสาน)
 (ฮีต1)                   พอถึง/เดือนอ้าย                สงฆ์ทั้งหลาย/พากัน/เข้ากรรม
                จำศิล
/ฟังธรรม                              บุญเข้ากรรม/มีมา/ฮีตนี้
                ธรรมเนียม
/เพิ่นถือ                       หากแม่นดื้อ/เข็ญข้อง/ต้องมี
                ขอเทพ/เทวา/ปราณี                            บุญ
/บารมี/ลูกหลานทำไป

(ฮีต2)                     พอถึง/เดือนยี่                  ฤกษ์ยามดี/โฮมกัน/เดิ่นบ้าน
                เฮ็ดบุญ
/คูณลาน                                   ข้าวเปลือกทาน/หนุนนำ/ชาติใหม่
                ประเพณี
/นี้                                  จัดสุปี/บุญกอง/ข้าวใหญ่
                ฮ่วมกัน
/ถวายให้                                  แด่สงฆ์เจ้า/บุญหลาย/เอานี่

(ฮีต3)                     พอเดือน/สามคล้อย           ลมวอย ๆ/เอาข้าว/มาปั้น
                ชาวบ้าน
/โฮมกัน                           ผูกสัมพันธ์/เฮ็ดบุญ/ข้าวจี่
                จัดแจง
/ถวาย                                 สังฆเจ้า/ฮ่วมเฮ็ด/สุปี
                หากธรรม
/เนียมจั่งซี้                      มีจริงแท้/สืบมา/แต่ก่อน

(ฮีต4)                     เดือนสี่/ฟังเทศ                     บุญผเวส/อดีต/เก่าหลัง
                ผู้เฒ่า
/นั่งฟัง                                          เทศสังกาส/ผเวส/สันดร
                ประดับ
/ธงทิว                               ปลิวไสว/เทิ่งแห่/กัณฑ์หลอน
                พร้อมแห่
/ข้าวพัน/ก้อน                      ม่วนออนซอน/เทศแหล่/มัทรี

 (ฮีต5)                    เดือนห้า/เมือบ้าน             นำเอาขัน/ใส่น้ำ/อบไว้
                มาลา
/ดอกไม้                                   ถวายให้/สงฆ์เจ้า/ทุกปี
                มหา
/สงกรานต์                                 ชาวอีสาน/เอิ้นบุญ/ประเพณี
                ฮดน้ำ
/กับน้องพี่                                สรงกรานต์ทุกปี/ขอพร/ผู้แก่

(ทำนองกาพย์เซิ้ง)
(ฮีต6)                     โอเฮาโอ พวกฟ้อนเฮาโอ  ขอเหล้าขาว/ให้ได้จ้าว/จักโอ
                ขอเหล้าโท
/กินได้ฟ้อน/จักแก้ว        แม่นได้แล้ว/สิเซิ้งแห่/บั้งไฟ
                บั้งไฟไผ๋
/บ่ขึ้น/เทิ่งฟ้า                        ตกลงมา/จับโยน/ลงตม
                บุญบ่สม
/ฮอดพระยา/แถน                บั้งไฟแล่น/ไผ๋ขึ้น/เทิ่งฟ้า
                บุญผลา
/ฝนสิตก/หลายห่า                 บวงสรวง/พระยาในบุญ/เดือนหก
                โอเฮาโอ
 โอพวกฟ้อนเฮาโอ

(ฮีต7)                     พอเดือน/เจ็ดแล้ว             ให้มีแนว/พาแปลง/บ่อนฮ้าง
                ไฮ่นาผาท้าง
                                          ซ่อยฮ่วมสร้าง/เฮ็ดบุญ/ชำฮะ
(ฮีต8)                     พอเดือน/แปดเถิง
                เข้าพรรษา/กิเลส/ลดละ
                บวชเฮียน
/อุตสาหะ
                            ฟังธรรมมะ/เข้าวัด/จำศิล
(ฮีต9)                     พอถึง/เดือนเก้า                    บ่ายเอาข้าว/มาห่อ/ล่อปั้น
                วางนำ
/ดินนั้น                              เอิ้นว่าบุญ/ข้าว/ประดับดิน
(ฮีต10)                   เดือนสิบ/มาฮอด                  บุญข้าวสาก/ทานภูต/ผีกิน
                ซุมน้ำ
/ตาไหลริน                                 ทุกข์ยากสิ้น /คอยบุญ/ส่งหา
(ฮีต11)                   เดือนสิบ/เอ็ดนี้                 บูฮานมี/เฮ็ด/ผาสาทเผิ้ง
                สามเดือน
/มาเถิง                           พระสงฆ์เจ้า/สิออก/พรรษา
(ฮีต12)                   พอเดือน/สิบสอง              ฮ่วมฉลอง/กฐิน/ผ้าป่า
                กลับคืน
/บ้านนา                                   หนุ่มสาวมา/เอาบุญ/นำกัน
(ซ้ำ)

(ลำเต้ยธรรมดา)
                ฮีตสิบสอง ของเฮานั้น       บ่แปรผัน ยังคือแต่ก่อน
ถึงฮีตใด๋ กะได้ม่วน ได้ฟ้อน             ออนซอนแท้ ซื่นสุขสันต์
                มื้อสำคัญ อีสานเฮาแล้ว     มาเอาบุญประเพณียิ่งใหญ่
อยู่บ้านใด๋ ให้มาโฮม มาตุ้ม              เห็นหน้า เว้าไถ่ถาม
                โอ้ยนั้นละน่า พ่อแม่หนา  ละนาลุงป้าหนา
อย่าปะอย่าลืมไลฮีตสิบสอง              ประเพณีเฮาต้อง ฮักษาไว้ ฮักษาไว้

 

Comments