ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญา: การทอเสื่อกกลายขิด โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย และคณะ

โพสต์6 ก.ค. 2559 20:19โดยไม่ทราบผู้ใช้   [ อัปเดต 15 ต.ค. 2559 23:54 ]

  ภูมิปัญญา: การทอเสื่อกกลายขิด

โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย และคณะ


 ความหมาย

                ผ้าขิด เป็นผ้าที่ใช้ห่อพระคัมภีร์และพระไตรปิฎกในอดีตใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนาโดยเฉพาะคนโบราณในภาคอีสานลุ่มน้ำโขง

        ความเชื่อ

ผ้าขิดเป็นของสูงสามารถปกป้องสิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจ คุณไสยไม่ให้เข้าสู่ร่างกายของตนเองได้

        ลักษณะรูปแบบขิด

เป็นผ้าที่ทอด้วยการเก็บขิดโดยการยกลายที่เส้นยืน นิยมทอด้วยเส้นไหมและเส้นฝ้าย

        ลักษณะการใช้งาน

ในอดีตผ้าขิดนำไปห่อพระคัมภีร์และพระไตรปิฎก
ประดิษฐ์เป็นของใช้ เช่น ที่นอน หมอนขิด ผ้าไหม
     3. เป็นเครื่องแต่งกายผ้าปกหรือผ้าคลุมหัวนาคในพิธีกรรมบวช ใช้เป็นผ้าเบี่ยง(ผ้าคลุมไหล่) ใช้เป็นหัวซิ่นของสุภาพสตรี  (ทรงศักดิ์  ปรางค์วัฒนากุล,  2536)

                นอกจากนี้หมู่บ้านหนองแวงฮี หมู่ที่ 11 ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพรองคือ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด วัว ควย เป็น และอาชีพรองที่ทำมากที่สุดด้านหัถกรรม คือ การทำสื่อกก ซึ่งชาวบ้านได้นำกกมาเพื่อใช้ในการทอเสื่อและได้นำลายของหมอนขิดมาใช้ในการท่อเป็นเสื่อเพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่า ลายหมอนขิดเป็นลายชั้นสูงและเป็นลายมงคล เพื่อไว้ปกปักรักษาคุ้มภัยให้แก่ตนเอง ขั้นตอนการทอเสื่อกก มีวิธีการทำดังนี้

การเตรียมต้นกก


การทอเสื่อกก

การเปรียบเทียบระหว่างผ้าขิดกับลายเสือกก

ลายผ้าขิด:  การประยุกต์ลายเสื่อ

ลักษณะของลายผ้าขิด

         ผ้าขิดมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และมีหลายลายด้วยกัน เช่น ลายดาว ลายแมงงอด (แมงป่อง) ลายข้าวหลามตัด ลายนาค และลายสามเหลี่ยม
ลายเสื่อกก

         ชาวบ้านได้นำเอาหลายผ้าขิดมาประยุกต์ใช้ทำเป็นลายเสื่อกก เช่น ลายข้าวหลามตัด ลายดาวและลายสามเหลี่ยม


ภูมิปัญญา: สานแห โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

โพสต์6 ก.ค. 2559 20:12โดยไม่ทราบผู้ใช้

ภูมิปัญญา: สานแห

โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
บ้านเลขที่ 10 หมู่ 12 ต. คลองขาม  อ. ยางตลาด จ. กาฬสินธุ์

ความเป็นมา คุณพ่อหนูพันธุ์ ภูถมทอง เล่าว่าได้เริ่มเรียนรู้การสานแหตอนอายุ 14 ปี จากพ่อและได้ทำมาเรื่อยเพื่อไว้ใช้เองเพราะหมู่บ้านใกล้เขื่อนลำปาวและไว้เพื่อจับปลาเป็นประจำ

วัตถุดิบ ด้ายในล่อน กีบ ลูกแห

ระยะเวลาที่สร้างสรรค์ 4-5 วัน ต่อ 1 ผืน

กลุ่มผู้บริโภค  คนทั่วไป และไว้ใช้ในครอบครัว

ราคา  ศอกละ 100 บาท

ภูมิปัญญา: หมอนขิด โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

โพสต์6 ก.ค. 2559 20:10โดยไม่ทราบผู้ใช้

ภูมิปัญญา: หมอนขิด

โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย


ชื่อภูมิปัญญา   :  การทำหมอนขิด

ที่อยู่ : บ. หนองแวงฮี  หมู่ที่ 11 ต. คลองขาม อ. ยางตลาด จ กาฬสินธุ์.   กาฬสินธุ์)

ความเป็นมา    :  การทำหมอนขิดนี้คุณยายนาง ภูจอมดาวเล่าว่าหลังจากว่างเว้นจากการทำนาก็มัก
                    ใช้เวลาว่างรวมกลุ่มกันมานั่งทำหมอนขิด ซึ่งมีวิธีการทำที่ง่ายไม่ซับซ้อน

วัตถุดิบ          :   นุ่น ปลอกหมอนขิด ด้าย เข็ม

ระยะเวลาในการสร้างสรรค์  :   10 ใบ ต่อ 1 วัน

ผู้บริโภค       :   บุคลทั่วไป

ราคา  :  200-250 บาท

ภูมิปัญญา : จักรสาน (ตะกร้า) โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

โพสต์6 ก.ค. 2559 20:03โดยไม่ทราบผู้ใช้   [ อัปเดต 6 ก.ค. 2559 20:08 ]

ภูมิปัญญา : จักรสาน (ตะกร้า)

โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย



ที่อยู่  บ้านเลขที่ 171 หมู่ 11  ต. คลองขาม อ. ยางตลาด  จ. กาฬสินธุ์

ความเป็นมา  คุณตาวิชา ถนอมสวน เล่าว่าได้เรียนรู้วิชาการจักสานตั้งแต่อยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพราะที่โรงเรียนมีการสอนงานฝีมือลักษณะนี้เพราะสามารถหาไม้ได้ง่ายในท้องถิ่น และต่อมาคุณตาวิชาได้มาเพิ่มเติมลวดลาย เช่น ลายขัด ลายเปีย จากพ่อและได้จักสานมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน

วัตถุดิบ  ไม้ไผ่บ้าน หวายมัด

ระยะเวลาที่สร้างสรรค์  จำนวน  2 ใบ ต่อ 1  วัน

กลุ่มผู้บริโภค  คนทั่วไป และไว้ใช้ในครอบครัว

ราคา ใบละ  150-200 บาท ตามขนาดของตระกล้า

ภูมิปัญญาพื้นถิ่น: ซอกะปี๊บ บ้านโนนรัง โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย

โพสต์6 ก.ค. 2559 19:54โดยไม่ทราบผู้ใช้   [ อัปเดต 6 ก.ค. 2559 20:02 ]

ภูมิปัญญาพื้นถิ่น:  ซอกะปี๊บ บ้านโนนรัง

 โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย



ประวัติหมู่บ้านโนนรัง (บริบทพื้นที่ของหมู่บ้าน)

                บ้านโนนรังสันนิฐานว่ามีอายุมาประมาณ สองร้อยกว่าปี ผู้คน อพยพ มาจากลาวเวียงจันทร์ เป็นหมู่บ้านที่เลือกทำเลเป็นโนน(ที่สูง) รอบๆ หมู่บ้านเป็นที่ลุ่มที่เหมาะสมกับการทำนา บ่งบอกถึงความชาญฉลาดของภูมิปัญญาของคนในหมู่บ้าน บริเวณๆ รอบๆ หมู่บ้านเป็นป่า

                การตั้งชื่อของหมู่บ้านตั้งตามกายภาพของหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านเป็นที่สูงจากระดับที่น้ำท่วมไม่ถึง จึงใช้ชื่อว่า โนน และในป่าของหมู่บ้านมีต้นรัง เป็นจำนวนมาก ดังนั้นทั้งสององค์ประกอบรวมกันแล้วจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  โนนรัง

                ด้วยสภาพของหมู่บ้านเป็นที่โนน ชาวบ้านจึงได้ทำการขุดบ่น้ำใช้เองเป็นจำนวนมาก เรียกว่า บ่น้ำสร้าง  สามารถใช้อาบและใช้กินได้ ในป่าบ้านโนนรังมีผลไม้เช่น มะขามป้อม ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และมีสัตว์น้อยใหญ่อาศัยอยู่ด้วยเช่น ลิง และเสือ เป็นต้น

                หากชาวบ้านโนนรังต้องการกินปลา หรือเก็บผักน้ำ ก็จะมาอาศัยหาปลาและเก็บผักที่บ้านหนองปิง หรือชาวบ้านสาวะถี และบ้านหนองปิงต้องการหาของป่าก็จะไปที่ ป่าหรือโคก ของบ้านโนนรัง เป็นต้น (สำเร็จ  คำโมง,  28 สิงหาคม 2558:  สัมภาษณ์)





ประวัติการกำเนิดซอปี๊บ บ้านโนนรัง

                ซอปี๊บเกิดจาก ครูคำ ซึ่งเป็นครูประชาบาล บ้านโนนรัง เป็นผู้ก่อตั้งคนแรก เมื่อประมาณปี 2483 โดยครูคำเป็นหัวหน้าคณะซอปี๊บมีผู้เล่นประกอบอยู่ 3-5 คน ด้วยการรวมตัวกันขึ้นมา ซึ่งทำเพื่อเล่นกันเองในหมู่คณะ คล้ายกับวง เซมเบอร์มิวซิค (Chamber Music) คณะซอปี๊บที่ครูคำ นำไปแสดงนั้นประกอบด้วย ซ่อปี๊บที่มีขนาดปี๊บต่างกัน สองถึงสามอัน  กลอง และฉิ่ง  ด้วยการบรรเลงอย่างเดียวไม่มีเสียงคนร้อง

                ไม่นานนักศึกษาอำเภอเมืองขอนแก่น ได้มาเชิญคณะครูคำไปเป็นนักดนตรี ของแผนกศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น เล่นมาเรื่อย ๆ จนท่านเกษียรราชการ (แทน  คำน้อย,  1 กันยายน 2558:  สัมภาษณ์)



ประวัติผู้ศึกษาซอปี๊บ

         คุณพ่อโกศล แสงศรีเรือง อายุ 68 ปี อาชีพทำนา บ้านเลขที่ 251 หมู่ 22 บ้านโนนรัง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มหัดทำเครื่องดนตรีกับคนในหมู่บ้านตั้งแต่อายุประมาณ ๑๕ ปี เครื่องดนตรีที่ทำประกอบไปด้วย แคน พิณ และซอ เป็นต้น และนอกจากนี้คุณพ่อโกศลยังชอบทำงานด้าน

         หัตถกรรมทุกประเภทอีกด้วย เช่น กระติ๊บข้าว ไซ ตะกล้า เป็นต้น คุณพ่อโกศลทำทั้งจำหน่าย และทำเพื่อใช้ในครอบครัว โดยไม่เคยไดซื้อของเหล่านี้จากที่ใดเลย

                สิ่งที่คุณพ่อโกศล มีความภูมิใจที่สุด คือ ได้สืบสานการทำเครื่องดนตรี ซอปี๊บ ที่เป็นของบรรพบุรุษตกทอดของคนในหมู่บ้านไว้ ซึ่งในปัจจุบันนี้หาดูได้อยาก เพราะอาจเป็นเพราะรูปลักษณ์ของเครื่องดนตรีที่เป็นปี๊บ อาจจะไม่สวยงาม และขั้นตอนการเล่นก็อาจจะยากเพราะต้องอาศัยการจำเสียงโน้ตให้ได้ เพราะไม่มีจุดที่ควบคุมตัวโน๊ตเหมือนซอในปัจจุบันที่เลียนแบบของภาคกลาง

                ราคาเครื่องดนตรีในอดีตที่พ่อโกศลขาย อยู่ที่ประมาณ 120 บาทแต่ในปัจจุบันราคาอยู่ที่ประมาณ หลักพันขึ้นแล้วแต่ข้อตกลงในการทำ เพราะขึ้นอยู่กับวัสดุ เช่น ไม้ที่นำมาทำเครื่องดนตรีประเภทนั้น ๆ

(โกศล แสงศรีเรือง,  1 กันยายน 2558:  สัมภาษณ์)



ความรู้เรื่องซอ

ซอเป็นเครื่องดนตรีประเภทสี ซึ่งมีหลายประเภทดังนี้

       1) ซอพื้นเมือง  เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานประเภทเครื่องสี คือ ซอ ชาวบ้านใช้เล่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้ง ๆ ทีซอมีเสียงไพเราะกว่า หรือพอ ๆ กับเครื่องดนตรีชนิดอื่น แต่ก็มีผู้เล่นไม่มากนัก

                รูปร่างลักษณะ  วงการดนตรีเชื่อว่าเครื่องดนตรีประเภทสีมีวิวัฒนาการมาจากประเภทดีด สมัยที่มีเครื่องสายแรก ๆ นั้นคงใช้นิ้วมือ หรือวัตถุบางๆ ดีดให้เกิดเสียง เสียงที่เกิดมักเป็นช่วงสั้น ๆ เมื่อต้องการทอดเสียงให้ยาวออกไปจำเป็นต้องดีดรัว ซึงก็เป็นช่วงสั้น ๆ ติดต่อกันอย่างรวดเร็วอยู่นั้นเอง ภายหลังจึงค้นพบว่าถ้าสีสายด้วยคันชัก จะทำให้มีเสียงยาวไม่ขาดตอนและมีลักษณะเสียง (Tone Color) คนละแบบกับการดีด ต่อมาจึงแยกเครื่องดนตรีประเภทดีดกับประเภทสีออกเป็นคนละประเภท

              โอกาสที่บรรเลง ใช้ซอบรรเลงก็เหมือนเครื่องดนตรีชนิดอื่นที่กล่าวมาแล้ว เช่น การคบงัน การฉลองงานเทศกาลต่าง ๆ ซอใช้ทั้งเดี่ยวและผสมวง

       2) ซอไม้ไผ่ หรือซอบั้งเป็นซอที่ทำจากไม้ไผ่ 1 ปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ว ถากผิวออกจนเหลือกระบอกบาง ๆ เจาะรูให้เกิดโพรงเสียงขึ้นสายสองสายไปตามความยาวของกระบอกไม้ไผ่ แล้วสีด้วยคันชัก มีข้อเสียคือเสียงเบาเกินไป

       3) ซอปี๊บ  เป็นซอที่ทำจากปี๊บน้ำมันก๊าดหรือปี๊บลูกอมมีสายลวดสองสายขึ้นเสียงคู่สี่หรือคู่ห้า คันชักอาจอยู่ระหว่างกลางของสายทั้งสอง หรืออาจจะอยู่ข้างนอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับครูแต่ละคน แต่ส่วนมากแล้วถ้าสีประกอบหมอลำ นิยมให้คันชักอยู่ข้างนอก เพลงที่สีซอปี๊บเป็นเพลงแคน อาจสีเดี่ยวหรือสีประสานเสียงหมอลำก็ได้

       4) ซอกระป๋อง  เป็นซอสองสายเช่นเดียวกับซอปี๊บแต่กระโหลกซอทำด้วยกระป๋อง และนิยมวางคันชักไว้ข้างในคืออยู่ระหว่างกลางของสาย ทั้งขึ้นเสียงเป็นคู่ห้า นิยมสีเพลงลูกทุ่ง ประกอบการขับร้องหรือสีเพลงลายพื้นบ้านของแคน

นันทิวัฒน์  น้อยกอ และคณะ.  (ม.ป.ป.).  ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน  เครื่องดนตรีประเภทสี.  http://student.nu.ac.th/thaimusicclub/esan2.htm สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558.


วัสดุอุปกรณ์ในการทำซอกระปี๊บ

1. ปี๊บ                                                    ความสูงแนวนอนขนาด  30 เซนติเมตร

2. คันทวน  (หลักซอ)                                   ขนาด     80 เซนติเมตร

3. ลูกบิด                                                  ขนาด     40 เซนติเมตร

4. คันชัก (มือสี)                                        ขนาด     60 เซนติเมตร

6. ลวดสายเบรก                                        ขนาด     55 เซนติเมตร

7. ม้าหย่อง                                              ขนาด     4  เซนติเมตร


แหล่งวัสดุอุปกรณ์

แหล่งวัสดุที่ใช้ทำซอปี๊บ มีแหล่งที่มา 2 แห่ง คือ

1. หาซื้อได้จากตลาด  ได้แก่ ปี๊บที่นำมาใส่หน่อไม้ดอง  และลวดสายเบรกรถจักรยาน

2.  แหล่งที่ได้จากในป่าบ้านโนนรัง ได้แก่

         2.1 ไม้ลูกบิดเป็นไม้ชาดหรือพันชาด  คันทวน

         2.2  คันทวนใช้ไม้พยุง

         2.3  คันชัก ใช้ไม้สัก

         2.4 ม้าหย่อง ใช้ไม้ไผ่

         2.5  ยางไม้ชาด หรือไม้สน สำหรับทาลวดสายเบรก

สรุป

         ซอ แต่ละประเภทมีลักษณะกายภาพที่คล้ายกัน แต่มีเต้าเสียงที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้เป็นเต้าเสียง เช่น ปี๊บ  กะลามะพร้าว  กระป๋อง ไม้ไผ่ เป็นต้น

เสียงของซอมี 2 เสียง คือ

         1. สายเสียงใหญ่ (สายทุ้ม)  จะอยู่ลูกบิดด้านบน

         2. สายเสียงน้อย (เสียงเอก) จะอยู่ลูกบิดด้านล่าง

ความแตกต่างของซอ ขึ้นอยู่กับเขตช่วงเสียง (Register)

         1. ซอปี๊บ เขตช่วงเสียงต่ำ ประมาณเสียงเทเนอร์

         2. ซอกะโป๊ะ (กะลามะพร้าว) เขตช่วงเสียงจะสูง และขึ้นอยู่กับขนาดเต้าเสียง เทียบได้กับเสียงอัลโต

         3 ซอกระบอก เทียบได้กับเสียงโซปราโน

วัสดุที่ใช้ทำสายซอ

         1. ไหมฝั่นแบบโบราณ  เสียงจะนุ่มนวน

         2. เบรกรถจักรยาน เสียงโลหะ (Metal Sound) จะให้เสียงกระด้าง สนุกสนาน
สรุป

         การทำซอปี๊บ ของพ่อโกศล นั้น เกิดจากภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษของหมู่บ้าน และบริเวณหมู่บ้านในสมัยก่อนเป็นป่าหนา มีต้นไม้มาก ซึ่งเป็นวัสดุในการทำซอเป็นอย่างดี

         ในปัจจุบัน เป้าหมายของการทำซอปี๊บ คือ การสืบทอดจากบรรพบุรุษของหมู่บ้านโนนรัง เป็นวิทยากรสาธิตให้กับนักเรียนนักศึกษาในการเล่นซอปี๊บ และแสดงตามงานโอท๊อป

         การทำซอปี๊บนั้นจะทำก็ต่อเมื่อ มีผู้สั่งทำเท่านั้น และไม้ที่ทำ คันทวน ก็อาจจะไม่ใช้ไม้ประดู่ แต่อาจเป็นไม้เนื้อแข็งประเภทอื่นตามแต่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

 และนอกจากนี้ที่ยังมีการทำหัถกรรมด้านอื่น ๆ ได้แก่



1-5 of 5