ภูมิปัญญา: การทอเสื่อกกลายขิด โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย และคณะ ความหมาย ผ้าขิด เป็นผ้าที่ใช้ห่อพระคัมภีร์และพระไตรปิฎกในอดีตใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนาโดยเฉพาะคนโบราณในภาคอีสานลุ่มน้ำโขง ความเชื่อ ผ้าขิดเป็นของสูงสามารถปกป้องสิ่งชั่วร้าย ภูตผีปีศาจ คุณไสยไม่ให้เข้าสู่ร่างกายของตนเองได้ ลักษณะรูปแบบขิด เป็นผ้าที่ทอด้วยการเก็บขิดโดยการยกลายที่เส้นยืน นิยมทอด้วยเส้นไหมและเส้นฝ้าย ลักษณะการใช้งาน ในอดีตผ้าขิดนำไปห่อพระคัมภีร์และพระไตรปิฎก ประดิษฐ์เป็นของใช้ เช่น ที่นอน หมอนขิด ผ้าไหม 3. เป็นเครื่องแต่งกายผ้าปกหรือผ้าคลุมหัวนาคในพิธีกรรมบวช ใช้เป็นผ้าเบี่ยง(ผ้าคลุมไหล่) ใช้เป็นหัวซิ่นของสุภาพสตรี (ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล, 2536) นอกจากนี้หมู่บ้านหนองแวงฮี หมู่ที่ 11 ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพรองคือ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด วัว ควย เป็น และอาชีพรองที่ทำมากที่สุดด้านหัถกรรม คือ การทำสื่อกก ซึ่งชาวบ้านได้นำกกมาเพื่อใช้ในการทอเสื่อและได้นำลายของหมอนขิดมาใช้ในการท่อเป็นเสื่อเพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่า ลายหมอนขิดเป็นลายชั้นสูงและเป็นลายมงคล เพื่อไว้ปกปักรักษาคุ้มภัยให้แก่ตนเอง ขั้นตอนการทอเสื่อกก มีวิธีการทำดังนี้ การเตรียมต้นกก การทอเสื่อกก การเปรียบเทียบระหว่างผ้าขิดกับลายเสือกก ลายผ้าขิด: การประยุกต์ลายเสื่อ ลักษณะของลายผ้าขิด ผ้าขิดมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และมีหลายลายด้วยกัน เช่น ลายดาว ลายแมงงอด (แมงป่อง) ลายข้าวหลามตัด ลายนาค และลายสามเหลี่ยม ลายเสื่อกก ชาวบ้านได้นำเอาหลายผ้าขิดมาประยุกต์ใช้ทำเป็นลายเสื่อกก เช่น ลายข้าวหลามตัด ลายดาวและลายสามเหลี่ยม |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น >