ข่าวศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
กิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2559
ประเพณี หมายถึง
กิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม ซึ่งชาวอีสานสมัยโบราณก็มีประเพณีที่ได้ยึดถือกันมาช้านานเช่นกัน
เรียกว่า ประเพณี “ฮีตสิบสอง” หรือ ประเพณี 12 เดือน เพื่อให้สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วมกันทำบุญ
เป็นประจำเดือนในทุกๆ เดือนของรอบปี "ฮีต" มาจากคำว่า "จารีต" ถือเป็นระเบียบของสังคม ถ้าฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง
ผิดจารีตซึ่งมี 12 ฮีตด้วยกัน คือ ฮีตที่ 1 (บุญเข้ากรรม) ฮีตที่ 2 (บุญคูณลาน) ฮีตที่ 3 (บุญข้าวจี่) ฮีตที่ 4 (บุญเผวส)
ฮีตที่ 5 (บุญสงกรานต์) ฮีตที่ 6 (บุญบั้งไฟ) ฮีตที่ 7 (บุญซำฮะ) ฮีตที่ 8 (บุญเข้าพรรษา) ฮีตที่ 9 (บุญข้าวประดับดิน) ฮีตที่ 10 (บุญข้าวสาก) ฮีตที่ 11 (บุญออกพรรษา) ฮีตที่ 12 (บุญกฐิน)
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับประเพณีของชาติมาโดยตลอดจึงได้จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีตามฮีตที่ 5 คือ บุญสงกรานต์ขึ้น คำว่า สงกรานต์ เป็นประเพณีของประเทศไทย ถ้าหากสงกรานต์เป็นคำสันสกฤตจะ หมายถึง การผ่าน หรือ การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศีวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ คือ การเคลื่อนขึ้นปีใหม่ ในความเชื่อของประเทศไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชาวต่างประเทศจะเรียกว่าเทศกาลนี้ว่า “สงครามน้ำ” สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมาย ถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดของแต่ละปี ซึ่งจะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้น ๆ พิธีสงกรานต์ ถือ เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา ดังนั้น มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจึงได้จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2559 ขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 2560 เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ประจำมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และแขกจากชุมชนใกล้เคียง ของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ อันได้แก่ พิธีสรงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีสรงน้ำอัฐิผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ และพิธีรดน้ำขอพรและมอบของกำนัลแก่ผู้ทรงวัยวุฒิ เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของชาติสืบไป |
โครงการกองทุนสุขภาพเทศบาลนครขอนแก่นของผู้สูงอายุ
ชุมชนเทคโนภาค ได้จัดดำเนินโครงการกองทุนสุขภาพเทศบาลนครขอนแก่นของผู้สูงอายุ โครงการครอบครัวอบอุ่น ใส่ใจ เข้าใจสูงวัยกันและกัน ในวันที่จันทร์ทีท่ 24 เมษยายน 2560 ได้มาใช้สถานที่ดำเนินกิจกรรมโครงการที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม NEU จึงได้ให้บริการชุมชนเทคโนภาคฯและเทศบาลนครขอนแก่นในงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสมาชิกชมรมผู้อาวุโส จัดที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม 24 เมษายน 2560 มี ผอ.ศวธ. ผอ.ทรัพย์สิน และผอ.กิจการนักศึกษา ร่วมกิจกรรมและอำนวยความสะดวก |
โครงการถ่ายทอดหมอลำพื้นบ้านนิทานอิงหลักธรรม
“โครงการถ่ายทอดหมอลำพื้นบ้านนิทานอิงหลักธรรม" สำหรับ เด็ก เยาวชนและบุคคลที่สนใจทั่วไป (ไม่จำกักเพศ -วัย) สนับสนุนโครงการโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ รับผิดชอบโครงการโดยแม่ครูราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยฯ) เริ่มโครงการจากวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2560 กิจกรรมที่ 1 พบกลุ่มปฐมนิเทศ ( 1 เมษายน 2560) เริ่มเวลา 08.00-09.00 น.-15.00น. ณ ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยด้านศิลปกรรมการแสดงพื้นบ้านหมอลำ ซอยหมู่บ้านเสรี จังหวัดขอนแก่น ...> การแต่งกาย <... ชาย : นุ่งผ้าโสร่ง / เสื้อสีขาว ทรงใหนก็ได้ (บนพื้นฐานวัฒนธรรม) หญิง : นุ่งชุดผ้าสิ้น / เสื้อสีขาว ทรงใหนก็ได้ (บนพื้นฐานวัฒนธรรม) |
เผยแพร่ขบวนงานไหมนานาชาติ ประจำปี 2559
ศิลปะการแสดงเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของดนตรี และนาฏศิลป์ การแสดงเหล่านี้ช่วยจรรโลงจิตใจมนุษย์มายาวนาน สร้างความรื่นเริงหรรษา บ่งบอกถึงเชื้อชาติวัฒนธรรมเป็นอย่างดี ซึ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี ทางจังหวัดขอนแก่น จะมีเทศกาลที่ชื่อว่า “เทศกาลไหมขอนแก่น” ประจำปีเกิดขึ้น และในปี 2559 นี้ ทางจังหวัดขอนแก่นได้เลื่อนการจัดงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น จากเดิมวันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม เป็นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ - 28 กุมภาพันธ์ 2560 สถานที่จัดงาน ณ บริเวณศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับผิดชอบจัดขบวนแห่เทศกาลไหมนานาชาติ และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น เป็นประจำทุกปีเรื่อยมา และในปีการศึกษา 2559 นี้ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้จัดขบวนนาฏศิลป์ และขบวนนักศึกษาเข้าร่วมในขบวนแห่ โดยมีผู้ร่วมขบวนประมาณ 200 คน เพื่อเผยแพร่ศิลปะการแสดงของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สังคมได้ชื่นชม และภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรมของไทยต่อไป |