ฮีตสิบสองอีสาน โดย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย ในปัจจุบันประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นยังคงยึดถือปฏิบัติประเพณี ๑๒ เดือน หรือที่เรียกกันในภาษาอีสานว่า “ฮีต ๑๒” กันอยู่ ซึ่งได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณเป็น จารีต ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ที่สั่งสมกันมาต่อเนื่องอย่างยาวนาน และในแต่ละครั้งเมื่อถึงประเพณี ๑๒ เดือน ก็ได้มีการรำแบบพื้นเมืองอีสาน เพื่อถวายแก่ “ผีฟ้า ผีแถน” ซึ่งชาวอีสานเคารพนับถือว่าเป็นเทวดาเพื่อมาดับทุกข์เข็ญหรือทำลายล้างอุปสรรคทั้งปวง และสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อนได้ ดังตัวอย่างกลอนลำประกอบภาพดังต่อไปนี้ ผู้ประพันธ์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย 1 มกราคม 2556 ฮีตที่ 1 บุญเข้ากรรม (ฮีต ๑) พอถึง / เดือนเจียง ชาวบ้านเลี้ยง/ผีแถน
ฮีตที่ 2 บุญคูณลาน (ฮีต ๒) เดือนยี่ / คูณลาน ข้าวเปลือกทาน / ร่วมกัน
ฮีตที่ 3 บุญข้าวจี่ (ฮีต ๓) เดือนสาม / ป่าวเติน ให้เอิ้นกัน / ทำบุญ
ฮีตที่ 4 บุญเผวส หรือบุญมหาชาติ (ฮีต ๔) เดือนสี่ / ฟังเทศ บุญผเวส / เสพงัน กันสิบ / สามได้ แห่ผเวส / สู่นคร
ฮีตที่ 5 บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) (ฮีต ๕) เดือนห้า / สงกรานต์ ต่างกลับบ้าน / คืนนา
ฮีตที่ 6 บุญบั้งไฟ(บุญเดือนหก) (กาพย์เซิ้งบั้งไฟ ผาแดงนางไอ่) (ฮีต ๖)
บั้งไฟขึ้นฟ้าเลยชนะกลับไป ได้ขวัญใจไอ่ คำเคียงคู่
ล่าวบ่อนอยู่ของท้าวภังคี บาดาลมีบุตราพยานาค ชาติก่อนหากเป็นคู่เคียงนอน ยังอาวรณ์ ถึงน้องนางไอ่
มาชาติใหม่ยังห่วงหวลหา แปลงกายมาปลอมเป็นกระฮอก
หายจมเกลี้ยง กลายเป็นหนองหาน ผลบุญทานผาแดงสร้างไว้ จุติได้ ชื่อผญาแถน บั้งไฟแล่น ขึ้นฟ้าบูชา บวงสวงพญาเดือนหกฝนส่ง น้ำท่วมท่งฝนฟ้าเทลง โอ้เฮาโอ่ เฮ้าโอ้ เฮ้าโอ้
ฮีตที่ 7 บุญซำฮะ (บุญเดือนเจ็ด) (ฮีต ๗) เดือนเจ็ด / ซำฮะ ก่อนจะลง / ทำนา
ฮีตที่ 8 บุญเข้าพรรษา (บุญเดือนแปด) (ฮีต ๘) เดือนแปด / แล้ว เข้าพรรษา / ทำบุญ
ฮีตที่ 9 บุญข้าวประดับดิน (บุญเดือนเก้า) (ฮีต ๙) พอถึง / เดือนเก้า ทำบุญข้าว / ประดับดิน
ฮีตที่ 10 บุญข้าวสาก (บุญเดือนสิบ) (ฮีต ๑๐) เดือนสิบ / นี้ บุญข้าวสาก / คองเก่า
ฮีต 11 บุญออกพรรษา (บุญเดือนสิบเอ็ด) (ฮีต ๑๑) เดือนสิบ / เอ็ดมา แห่ผาสารท / ผึ้งกัน
ฮีตที่ 12 บุญกฐิน (บุญเดือนสิบสอง) (ฮีต ๑๒) เดือนสิบ / สอง สิ้น / ปวรณา
(ลำเต้ยธรรมดา)
|
วัฒนธรรม >